ข้อมูลสถานศึกษา
1. ความเป็นมา
1.1 ข้อมูลพื้นฐาน ประวัติ ที่ตั้ง ขนาด
เมื่อปี พ.ศ.2539 ประเทศไทยมีความขาดแคลนแรงงานหลายสาขาในระดับต่าง ๆ กรมอาชีวศึกษาเป็นหน่วยงานหลักในภาครัฐบาลมีภาระหน้าที่ผลิตกำลังคนในระดับช่างกึ่งฝีมือ ช่างฝีมือและช่างเทคนิคซึ่งผลิตคนได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดแรงงาน เนื่องจากสถานศึกษาในสังกัดมีจำนวนจำกัด และไม่สามารถสนองความต้องการของผู้สนใจเข้าศึกษาด้านวิชาชีพได้อย่างเต็มที่ จากข้อมูลการรับนักเรียนประจำปีที่ผ่าน ๆ มา มีผู้สนใจต้องการจะเรียนวิชาชีพสูงเพิ่มมากขึ้น แต่สถานศึกษาที่มีอยู่ไม่สามารถรับนักเรียนได้ทั้งหมด ทำให้เยาวชนขาดโอกาสในการศึกษาวิชาชีพตามความต้องการ ซึ่งเป็นปัญหามีผลโดยตรงต่อการขาดแรงงานที่มีคุณภาพของประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคต
กรมอาชีวศึกษา ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงกำหนดแนวทางแก้ไข โดยจัดทำโครงการจัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพระดับอำเภอขึ้นในแผนพัฒนาอาชีวศึกษาระยะที่ 7 จำนวน 70 แห่ง เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาวิชาชีพและผลิตกำลังคนที่มีคุณภาพแก่ประเทศชาติ ทั้งนี้เนื่องจากวิทยาลัยการอาชีพเป็นรู้แบบของสถานศึกษาที่ประหยัดและมีการจัดการเรียนการสอน ทั้งในระบบ (หลักสูตรปวช. , ปวส.) และนอกระบบ (หลักสูตรระยะสั้น) ทุกประเภทวิชา (ช่างอุตสาหกรรม, พาณิชยกรรม, ศิลปกรรม, คหกรรม และเกษตรกรรม ตามความต้องการของตลาดแรงงานและท้องถิ่น เพื่อให้การขยายโอกาสทางการศึกษาครอบคลุมและกระจายทุกจังหวัด จึงดำเนินการจัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพระดับอำเภอ ขึ้น
อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นอำเภอหนึ่งที่ได้รับการพิจารณาให้เป็นอำเภอเป้าหมายในโครงการจัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพระดับอำเภอ ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากผู้นำชุมชน ประชาชนและหัวหน้าส่วนราชการอำเภอกันตัง ในการประสานงานเลือกสถานที่จัดตั้ง สรุปให้ใช้ที่ดินสาธารณะประโยชน์ “ทุ่งเที่ยวเห็ด” จำนวน 100 ไร่ ของตำบลกันตังใต้ เป็นที่จัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพกันตัง 8 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดตรัง 32 กิโลเมตร พื้นที่ใกล้ชายฝั่งทะเลอันดามัน กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2540 ลงนามโดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสุขวิทย์ รังสิพล
ปีงบประมาณ 2540 ได้รับงบประมาณค่าที่ดินสิ่งก่อสร้างเป็นเงิน 8,950,000 บาท
(แปดล้านเก้าแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) ก่อสร้างสำนักงาน อาคารเรียน อาคารโรงฝึกงานและบ้านพัก ปีงบประมาณ 2541 ได้รับงบประมาณเป็นค่าที่ดินสิ่งก่อสร้างเป็นเงิน 28,440,000 บาท (ยี่สิบแปดล้านสี่แสนสี่หมื่นบาทถ้วน) ให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียน 3 ชั้น 1 หลัง และอาคารโรงฝึกงาน 3 ชั้น
1 หลัง เปิดทำการสอนครั้งแรก เมื่อภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2541 จำนวน 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาช่างยนต์และสาขาพาณิชยการ ในปีการศึกษา 2554 ได้ทำการเปิดการสอนหลักสูตรต่าง ๆ ดังนี้
1. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จำนวน 2 ประเภทวิชา (ช่างอุตสาหกรรม,
พาณิชยกรรม)
- ประเภทวิชาอุตสาหกรรม จำนวน 2 สาขาวิชา
- สาขาวิชาช่างยนต์ สาขางานยานยนต์
- สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง สาขางานไฟฟ้ากำลัง
- ประเภทวิชาพณิชยกรรม จำนวน 3 สาขาวิชา
- สาขาวิชาการบัญชี สาขางานการบัญชี
- สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก สาขางานธุรกิจค้าปลีกร้านสะดวกซื้อ(ทวิภาคี)
- สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
2. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)จำนวน 2 ประเภทวิชา(อุตสาหกรรม,พาณิชยกรรม)
2.1 ประเภทวิขาอุตสาหกรรม จำนวน 2 สาขา
2.1.1 สาขาวิขาเครื่องกล สาขางานเทคนิคยานยนต์ (ทวิภาคี)
2.1.2 สาขาไฟฟ้ากำลัง สาขางานเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ(ทวิภาคี)
2.2 ประเภทวิชาพาณิชยกรรม
2.2.1 สาขาวิชาการบัญชี
– สาขางานการบัญชี
– สาขางานการบัญชี (ม.6)
2.2.2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
– สาขางานการพัฒนาเว็บเพจ
– สาขางานการพัฒนาเว็บเพจ (ม.6)
– สาขางานเทคโนโลยีสำนักงาน (ทวิภาคี)
จำนวน 1 สาขา คือ สาขาวิชาการบัญชี
3. หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นสำหรับประชาชนทั่วไปที่สนใจ
4. หลักสูตรวิชาชีพเสริมแกนมัธยมศึกษาให้กับโรงเรียนในเขตพื้นที่อำเภอกันตัง
โทรศัพท์ 0-7520-7865 , โทรสาร 0-7520-7861
E-mail : Kantang_icc@yahoo.com
Web site : www.kantang.ac.th
การดำเนินงานในปัจจุบัน ระดับการศึกษา และสาขาวิชาที่เปิดสอน
ปัจจุบันวิทยาลัยการอาชีพกันตัง เปิดทำการสอนหลักสูตรต่าง ๆ ดังนี้
Ø หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
- สาขาวิชาเครื่องกล
- สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลังและอิเล็กทรอนิกส์
- สาขาวิชาพณิชยการ
– สาขางานยานยนต์- สาขางานไฟฟ้ากำลัง- สาขางานการบัญชี
– สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
Ø หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
- สาขาวิชาเครื่องกล
- สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง
– สาขางานเทคนิคยานยนต์ (ปกติ , ม.6 , ทวิภาคี และเทียบโอนความรู้และประสบการณ์)- สาขางานเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ ( ปกติ , ม. 6 และทวิภาคี)
– สาขางานติดตั้งไฟฟ้ากำลัง (เทียบโอนความรู้และประสบการณ์)
- สาขาวิชาพาณิชยการ
– สาขางานการบัญชี (ปกติ , ม. 6 และเทียบโอนความรู้และประสบการณ์)
– สาขางานการพัฒนาเว็บเพจ (ปกติ , ม. 6 และเทียบโอนความรู้และ
ประสบการณ์)
- สาขางานเทคโนโลยีสำนักงาน (ทวิภาคี)
Ø หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น 30 – 225 ชั่วโมง ประกอบด้วย
- ซ้อมระบบไฟฟ้ารถจักรยานยนต์
- ช่างซ่อมจักรยานยนต์
- ช่างซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
- ช่างติดตั้งไฟฟ้าในอาคาร
- การขับรถยนต์
- การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน
- การถอดประกอบคอมพิวเตอร์
- คอมพิวเตอร์กับงานสำนักงาน
- พิมพ์ดีดคอมพิวเตอร์
- การประดิษฐ์ดอกไม้
Ø หลักสูตรเสริมแกนมัธยม
- คอมพิวเตอร์เบื้องต้นและโปรแกรมประมวลผลคำ
สถานที่สำคัญ รอบ ๆ วิทยาลัยฯ ได้แก่
– สถานีอนามัยบ้านแตะหรำ – ที่ว่าการอำเภอกันตัง
– องค์การบริหารส่วนตำบลกันตังใต้ – สำนักงานเกษตรอำเภอกันตัง
– โรงเรียนบ้านแตะหรำ – องค์การบริหารส่วนตำบลวังวน
– โรงเรียนบ้านเกาะเคี่ยม – เทศบาลเมืองกันตัง
– โรงเรียนบ้านกันตังใต้ – โรงงานอุตสาหกรรม – สำนักสงฆ์กันตังใต้
– แพปลา
– สำนักงานที่ดินอำเภอกันตัง – ห้องเย็น
1.2 สภาพชุมชน แผนผังวิทยาลัย
(สภาพเศรษฐกิจ สังคม ประเพณี วัฒนธรรม ความร่วมมือของชุมชนที่มีต่อสถานศึกษา)
อำเภอกันตัง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของจังหวัดตรัง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 24 กิโลเมตร ทิศเหนือติดต่ออำเภอเมืองตรัง ทิศใต้ติดต่อทะเลอันดามัน ทิศตะวันออกติดต่ออำเภอย่านตาขาว และกิ่งอำเภอหาดสำราญ ทิศตะวันตกติดต่ออำเภอสิเกาและทะเลอันดามัน
ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ๆ ดอน ๆ มีภูเขาเตี้ย ๆ มีแม่น้ำตรังไหลผ่านในกลางอำเภอ
สภาพดินฟ้าอากาศ อำเภอกันตังตั้งอยู่ในเขตมรสุมติดต่อทะเลอันดามันทางด้านมหาสมุทรอินเดีย จึงได้รับลมมรสุมทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันตกเฉียงใต้พัดสลับกันตลอดทั้งปี ทำให้ฝนตกชุกตลอดปี แบ่งช่วงฤดูร้อนและฤดูฝน ดังนี้
ฤดูร้อน เดือน มีนาคม – เดือน พฤษภาคม
ฤดูฝน เดือน มิถุนายน – เดือน กุมภาพันธ์
ประชากร ตำบลกันตังใต้ จำนวน 6 หมู่บ้าน
อาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมและประมงพื้นบ้าน ทำสวนยางพารา ประมงน้ำจืด ทำนา เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชผักผลไม้และรับจ้าง
1.3 ปรัชญาของสถานศึกษา
วิสัยทัศน์ พันธกิจ ปรัชญาวิทยาลัยการอาชีพกันตัง
วิสัยทัศน์
วิทยาลัยการอาชีพกันตัง กำหนดวิสัยทัศน์ของวิทยาลัยการอาชีพกันตัง ไว้ดังนี้
“วิทยาลัยการอาชีพกันตัง ส่งเสริมให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการจัดการอาชีวศึกษา ผลิตกำลังคน มีคุณธรรม คุณภาพตามมาตรฐานอาชีวศึกษาและมีทักษะวิชาชีพสู่สากล”
พันธกิจ
วิทยาลัยการอาชีพกันตัง กำหนดพันธกิจเพื่อให้บรรลุซึ่งวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ดังนี้
พันธกิจที่ ๑ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการผลิตกำลังคนอาชีวศึกษา สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ และการประกอบอาชีพอิสระได้มาตรฐานในระดับสากล
พันธกิจที่ ๒ ขยายโอกาสการจัดการอาชีวศึกษาให้กับประชาชนทุกช่วงวัย
พันธกิจที่ ๓ บริหารจัดการศึกษาภายใต้หลักธรรมาภิบาลโดยอาศัยเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้มีประสิทธิภาพ
พันธกิจที่ ๔ พัฒนาวิชาชีพสู่งานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม เทคโนโลยี และสร้างองค์ความรู้เพื่อจัดอาชีวศึกษาสู่มาตรฐาน
พันธกิจที่ ๕ พัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วยวิธีที่หลากหลาย
ปรัชญา
ฝีมือนำ คุณธรรมล้ำเลิศ ประเสริฐวิชา พัฒนาสังคม
ภาพลักษณ์
วิทยาลัยสะอาด ครูเป็นแบบอย่างที่ดี
นักเรียนมีคุณภาพ ชุมชนร่วมพัฒนา
อัตลักษณ์
มีวินัย ใฝ่รู้ ใฝ่อาสา
เอกลักษณ์
คุณธรรม นำความรู้
แนวทางการบริหารวิทยาลัยการอาชีพกันตัง
1. นำหลัก PDCA มาใช้ในการบริหาร
2. จัดภูมิทัศน์บรรยากาศ การบริหารวิชาชีพให้สอดคล้องกับพื้นที่ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร มุ่งเป็นศูนย์บริการชุมชนในทุก ๆ ด้าน
3. ประสานกับชุมชน สถานประกอบการ เพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนวิชาชีพให้มีคุณภาพมาตรฐานตลาดแรงงาน
4. ดูแลจัดสรรสวัสดิการนักเรียน นักศึกษา ตั้งแต่เข้ามาเป็นนักเรียน จนจบการศึกษา ทางด้านสุขอนามัย ให้ได้รับการพัฒนาเติบโตทางร่างกาย จิตใจ วุฒิทางอารมณ์ตามเกณฑ์มาตรฐาน ให้มีความรู้ทักษะ ประสบการณ์ ภาวะผู้นำ วิสัยทัศน์เป็นที่ยอมรับและสามารถสร้างงานสร้างรายได้ขณะที่เป็นนักเรียน นักศึกษา
5. พัฒนาครู อาจารย์ ให้เป็นครูวิชาชีพต้นแบบทั้งด้านความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ บุคลิกภาพ มนุษยสัมพันธ์และวิสัยทัศน์
เป้าหมายของวิทยาลัยการอาชีพกันตัง
วิทยาลัยการอาชีพกันตัง มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการพัฒนาวิทยาลัยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์ในองค์กร ทั้งจุดมุ่งหมาย กิจกรรม และปัจจัยแวดล้อม รวมถึงการสร้างกิจนิสัยในองค์กรให้มีสัญชาตญาณ ตระหนักถึงกลยุทธ์ตลอดเวลา อันจะส่งผลให้วิทยาลัยการอาชีพกันตัง เติบโตก้าวไปสู่ความสำเร็จได้มาตรฐานใน 5 เรื่อง คือ
1. ด้านการบริหาร และจัดการ
2. ด้านหลักสูตรและการสอน
3. ด้านทรัพยากร
4. ด้านบุคลากร
5. ด้านการกำกับตรวจสอบและรายงาน